ประวัติของเสียงภาพยนตร์ ที่มีมาอย่างยาวนาน

ประวัติของเสียงภาพยนตร์

ประวัติของเสียงภาพยนตร์ ก่อนภาพยนตร์จะมีเสียงแบบที่เราดูกันในปัจจุบันนี้ ภาพยนตร์ในช่วงเริ่มต้นนั้นเคยไม่มีเสียงมาก่อน

ประวัติของเสียงภาพยนตร์ หรือที่เรียกว่า ภาพยนตร์เงียบ เป็นภาพยนตร์ ในยุคบุกเบิก ที่มีแต่ภาพ สื่อและแสดงอารมณ์ ออกมาทางสีหน้า ท่าทาง สถานที่ ซึ่งก็ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ในสมัยเริ่มต้นวงการภาพยนตร์ แต่เมื่อยุคสมัยผ่านไปเรื่อย ๆ ก็ได้เกิดภาพยนตร์เสียงขึ้นมา

ซึ่งภาพยนตร์เสียง เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในปี พ.ศ. 2470 ชื่อเรื่อง The Jazz Singer เป็นภาพยนตร์เสียงแนวดนตรี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฉายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2470 ในปีเดียวกัน ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (Talkie) ของฮอลลีวู้ด ก็เริ่มมีเข้ามาในไทยบ้าง

ประวัติของเสียงภาพยนตร์

ปีต่อมา พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์ และภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม เข้ามาฉายในกรุงเทพ แต่ยังไม่บูมเท่าไหร่นัก ในปี พ.ศ. 2474 ก็ได้มีการ ทำภาพยนตร์เสียงในไทย ด้วยเช่นกัน ช่วงนี้มีผู้สร้าง ภาพยนตร์เสียง เรื่องแรกขึ้นมา แต่ไม่ได้สร้าง เป็นภาพยนตร์แบบเต็ม ๆ

เพราะภาพยนตร์เสียงที่สร้างขึ้น เป็นการถ่ายทำภาพยนตร์ข่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัตพระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ซึ่งถูกสร้างขึ้น โดยพี่น้องวสุวัต ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ได้นำออกฉาย สู่สาธารณะ ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474

และได้รับคำชื่นชม จากประชาชนจำนวนอย่างมาก ต่อมาพี่น้องวสุวัต ก็ได้ทำกิจการ สร้างภาพยนตร์ เป็นของตนเอง ชื่อว่า บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ปีต่อมาปี พ.ศ. 2475 ได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ขึ้นมีชื่อว่าเรื่อง หลงทาง ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง หลงทาง นี้ก็ได้เปิดตัว ในช่วงที่เป็นฤกษ์งามยามดีมาก ๆ

เพราะได้นำออกฉาย ในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งปี พ.ศ. 2475 ถูกจัดว่าเป็น ปีที่พิเศษกว่าทุกปี เนื่องจากปีนี้ เป็นปีที่รัฐบาล จัดงานเฉลิมฉลองสมโภช กรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ทำให้ประชาชนชาวไทย จากทุกหนทุกแห่ง พร้อมใจกันเดินทาง เข้ามาในเมืองหลวง มากกว่าปกติ

เพื่อร่วมเฉลิมฉลอง งานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์นี้ ส่งผลให้ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จเป็นอย่ามาก แบบฉุดไม่อยู่ ช่วงนี้เป็นช่วง ที่ภาพยนตร์เสียง ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยความที่วันเวลา และยุคสมัยเปลี่ยนไป จึงทำให้ภาพยนตร์เสียงค่อย ๆ เข้าไปแทนที่ภาพยนตร์เงียบ

จนภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไป และเริ่มหายไปจากวงการจอฟิล์ม ในช่วงนี้ถือเป็นยุคทองยุคเฟื่องฟู ของวงการภาพยนตร์เลยก็ว่าได้ เพราะมีภาพยนตร์ เกิดใหม่เยอะมาก ๆ และประชาชน ก็ให้การตอบรับ เกี่ยวกับภาพยนตร์ออกใหม่เหล่านั้นมาก ๆ ด้วย อาจจะเป็นเพราะว่า พอภาพยนตร์เริ่มมีเสียงประกอบ ก็เลยทำให้ผู้คน ดูแล้วเข้าใจได้ง่ายขึ้น

สามารถดูรู้เรื่อง และเข้าใจได้ตรงกันทั้งเด็ก วันรุ่นหนุ่มสาว ผู้ใหญ่มีอายุ ไปจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ เมื่อดูหนังจบแล้วก็สามารถเอาไปพูดคุยต่อกันได้ โดยในยุคนั้นมีบริษัทสร้างหนังสุดโด่งดัง นั่นก็คือ บริษัทเสียงศรีกรุง ที่พัฒนาการสร้างหนังอยู่ตลอดเวลา ทำให้ผู้คนชื่นชอบและลุ้นไปกับการออกฉายของหนังใหม่

หนังของบริษัทนี้ ได้รับการตอบรับที่ดีสุด ๆ ในทุกแห่งของเมืองไทย ในช่วงนี้ยังเป็นการ ถือกำเนิดของดาราคู่แรก แห่งวงการภาพยนตร์ไทย นั่นก็คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ อีกด้วย อีกทั้งยังเกิดบริษัทคู่แข่งอย่าง บริษัทไทยฟิล์มของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล, พจน์ สารสิน, หลวงสุขุมนัยประดิษฐ์, ประสาท สุขุม และ ชาญ บุนนาค

ประวัติของเสียงภาพยนตร์

ยังมีการทำโฆษณาภาพยนตร์ก่อนฉายอีกด้วย จึงทำให้เป็นยุคทองของวงการภาพยนตร์มากจริง ๆ  

นอกจากนี้ยังมี การนำเข้าภาพยนตร์ มาจากต่างประเทศ ซึ่งก็มีหลายเรื่อง ที่ไม่มีบรรยายเป็นภาษาไทย ผู้ฉายจึงจำเป็นต้องพากย์เสียง บรรยายให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไทย สามารถเข้าใจ ประวัติของเสียงภาพยนตร์ ได้ง่ายขึ้น ก่อนนำออกฉาย จึงเกิดนักพากย์ที่มีชื่อเสียงขึ้น นั่นก็คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง)

ต่อมาทิดเขียว ก็ได้ผันตัวเอง ไปเป็นนักพากย์หนังพูดด้วย ภาพยนตร์เรื่องแรก ที่ทิดเขียวทดลองพากย์ เป็นภาพยนตร์อินเดีย เรื่อง อาบูหะซัน ในช่วงนั้น วงการภาพยนตร์ไทย เป็นช่วงที่คึกคักมาก ๆ ทำให้ผู้สร้างภาพยนตร์บางรายที่ไม่มีทุนในการทำภาพยนตร์เสียงในฟิล์มมากมายนัก ก็เกิดความคิดดี ๆ ในการลดต้นทุนการสร้างภาพยนตร์ขึ้นมา

นั่นก็คือ การลงมือถ่ายทำโดยไม่ต้องบันทึกเสียง ทำเช่นเดียวกับการสร้างภาพยนตร์เงียบ แล้วหลังจากนั้นก็เชิญนักพากย์เสียงฝีมือดีมาพากย์เสียงทับในภายหลัง โดยมีบริษัทสร้างภาพยนตร์ 2 รายที่เป็นผู้ที่บุกเบิกวิธีดังกล่าว ได้แก่ บริษัทบูรพาภาพยนตร์ และ บริษัทหัสดินทร์ภาพยนตร์

ซึ่งก็ได้มีการทดลองสร้างหนัง ด้วยวิธีการนี้ในเรื่อง อำนาจความรัก และ สาวเครือฟ้า ก็ปรากฎว่าได้รับการตอบรับ จากผู้ชมอย่างดีเลยทีเดียว ด้วยวิธีการที่ไม่จำเป็น ต้องลงทุนมากนัก จึงทำให้เกิดผู้สร้างภาพยนตร์ใหม่ ๆ รายเล็กรายใหญ่ ตามมาอีกมากมายหลายรายเสียง ประวัติของเสียงภาพยนตร์ ในภาพยนตร์นอกจากจะทำให้ผู้คนดูรู้เรื่อง และเข้าใจมากขึ้น ด้วยบทสนทนาของตัวละครแล้ว

บางครั้งยังทำให้ผู้ชม เกิดอารมณ์บางอย่าง ที่มีต่อหนัง ที่กำลังดำเนินเรื่องอยู่ เช่น อารมณ์ตื่นเต้น กลัว ตกใจ เศร้า ตกหลุมรัก ตลก และอื่น ๆ ได้ด้วยเสียงประกอบอย่าง เสียงดนตรี เสียงสิ่งของ หรือเสียง ที่มาจากกระทำ หรือ เหตุการณืต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพยนตร์ ทำให้ ผู้สร้างภาพยนตร์ ต้องพัฒนาเกี่ยวกับ องค์ประกอบของเสียง ในเรื่อง

เพื่อมาเติมสีสัน และความน่าดู ของภาพยนตร์นั้น ให้มากขึ้น สมัยก่อนนักพากย์ จึงอาจต้องมีความรู้ เรื่องเสียง เพื่อเอามาใช้ ในการพากย์ เพื่อให้หนัง มีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การใช้เสียงจากแก้ว ที่มีน้ำอยู่ การใช้สิ่งของ หรือวัสดุต่าง ๆ มากระทบกันให้เกิดเสียง ที่สมจริงกับภาพยนตร์ ที่กำลังพากย์อยู่ เป็นต้น