วิวัฒนาการภาพยนตร์ จากอดีตสู่ยุคปัจจุบัน

วิวัฒนาการภาพยนตร์

วิวัฒนาการภาพยนตร์ สมัยก่อนประมาณช่วงปี 1815 – 1895 เป็นยุคบุกเบิกสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับภาพยนตร์

วิวัฒนาการภาพยนตร์ เริ่มแรกมีสิ่งประดิษฐ์หนึ่ง ที่สามารถทำให้เกิดภาพเคลื่อนไหวได้ โดยอาศัยหลักการ ภาพติดตา (Persistence of Vision) นั่นก็คือ โซโทรป (Zoetrope) อุปกรณ์ที่ใช้ ในการสร้างภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเป็นรากฐาน ของอนิเมชัน โซโทรป ถูกคิดค้นขึ้นโดย วิลเลี่ยม จอร์จ ฮอร์เนอร์ (William George Horner) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ

เขานำหลักการ ภาพติดตา มาทำให้เกิด ภาพเคลื่อนไหว โดยการนำภาพถ่าย ที่ถูกถ่ายมาแบบต่อเนื่องกัน วางลงบนวัสดุ ที่เป็นวงล้อกลม ๆ หมุนได้และใช้กระจกในการสะท้อนภาพ เวลาเล่นก็ให้หมุนวงล้อแล้วมองไปที่กระจก ภาพจะปรากฎออกมาลักษณะเคลื่อนไหวไปเรื่อย ๆ เป็นเงาสะท้อนจากกระจก สิ่งนี้ถือเป็นต้นกำเนิด ของภาพยนตร์เลยก็ว่าได้

วิวัฒนาการภาพยนตร์

ต่อมาในปี 1889 ก็ได้เกิดต้นแบบ เครื่องฉายภาพยนตร์ขึ้นมา เรียกว่า คิเนโตสโคป (Kinetoscope) สร้างขึ้นโดย โทมัส แอลวา เอดิสัน (Thomas Alva Adison) และ วิลเลียม เคนเนดี้ ดิคสัน (William Kenady Dickson) คิเนโตสโคป มีลักษณะเป็นตู้สูงประมาณ 4 ฟุต ภายในมีฟิล์มภาพยนตร์ ที่ถ่ายด้วยกล้องคิเนโตกราฟ (Kinetograph)

ซึ่งฟิล์มนี้ จะมีความยาวประมาณ 50 ฟุต โดยวางพาดไปมา แล้วมีกลไก ที่ทำให้ฟิล์มเคลื่อนที่เป็นวงรอบ ด้วยความเร็วภาพที่ 48 ภาพต่อวินาที ต่อมาก็จะช้าลงเหลือ 16 ภาพต่อวินาที เวลาดูภาพยนตร์ ก็จะดูผ่านช่อง ที่มีแว่นขยาย กับหลอดไฟ ผู้คนสามารถเข้าไปส่องดูได้ ผ่านช่องเล็ก ๆ นี้ เรียกกันว่า ถ้ำมอง แต่สามารถดูได้แค่ทีละ 1 คนเท่านั้น

ต่อมาไม่นาน ก็มีการพัฒนาภาพยนตร์ ต่อไปอีกขั้น เมื่อมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ที่ชื่อว่า ซิเนมาโตกราฟ (Cinematography) ที่ถูกสร้างโดยพี่น้องลูมิแอร์ พวกเขาพัฒนา ต่อจากคิเนโตสโคป โดยจากที่ผู้คนต้องเข้าคิวต่อแถว เพื่อรอดูถ้ำามองได้ทีละ 1 คน ก็ได้พัฒนาซิเนมาโตกราฟ ให้สามารถฉายภาพยนตร์ ขึ้นจอใหญ่ และดูได้ทีละหลาย ๆ คน

พวกเขานำภาพยนตร์ ออกฉายครั้งแรกในปี 1895 ที่บริเวณใต้ถุน ร้านกาแฟแห่งหนึ่ง ในกรุงปารีส โดยเก็บค่าเข้าชมด้วย ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ ถือเป็นภาพยนตร์ เรื่องแรกของโลก เลยก็ว่าได้ โดยภาพยนตร์ที่ถูกสร้าง ในครั้งแรกของโลกนี้ มีชื่อว่า Arrival of a Train at La Ciotat ความยาว 50 วินาที

Arrival of a Train at La Ciotat แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า การมาถึงของรถไฟที่ La Ciotat เป็นภาพยนตร์สารคดีเงียบ แบบสั้นภาพสีขาวดำ ปีต่อมา 1896 ภาพยนตร์ของพี่น้องลูมิแอร์ ก็ได้ถูกนำไปฉาย ตามเมืองใหญ่ ๆ ทั่วโลก ในช่วงนี้ยังเป็นภาพยนตร์แบบเงียบอยู่ คือ มีแต่ภาพ ไม่มีเสียง แต่ก็ได้รับการตอบรับที่ดี จากผู้คนทั่วโลก อย่างล้นหลาม

ซึ่งคำว่า “ซีเนมา” (Cinema) ก็ได้ถูกนำมา ใช้เรียกเกี่ยวกับภาพยนตร์ จนถึงปัจจุบัน เมื่อผู้คนทั่วโลกรู้จัก และเริ่มคุ้นชินกับภาพยนตร์เงียบมากขึ้นแล้ว ทำให้หลายประเทศทั่วโลก เกิดโรงมหรสพ ที่ใช้ในการ ฉายภาพยนตร์เงียบมากขึ้น ไม่เว้นแม้แต่ในไทยเอง ก็มีการชมภาพยนตร์เงียบ กันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แล้วเช่นกัน

วิวัฒนาการภาพยนตร์ โดยภาพยนตร์เรื่องแรก ที่มาฉายในไทย ก็คือภาพยนตร์ จากพี่น้องลูมิแอร์นั่นเอง แต่เมื่อเวลาผ่านไป ภาพยนตร์เงียบก็ต้องโบกมือลาโลก เมื่อในปี 1927 ได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ขึ้นมาชื่อเรื่องว่า The Jazz Singer เป็นภาพยนตร์เสียงแนวดนตรี ของประเทศสหรัฐอเมริกา ฉายเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1927

ในปีเดียวกันนี่เอง ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (Talkie) ของฮอลลีวู้ด ก็เริ่มมีเข้ามาในไทยมากขึ้น จนในปี 1932 ประเทศไทย ได้มีภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ออกฉาย ชื่อเรื่อง หลงทาง ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ได้เปิดตัวในช่วงที่ เป็นช่วงเวลาเด่นดวงของเมืองไทย

วิวัฒนาการภาพยนตร์

เพราะภาพยนตร์เรื่อง หลงทาง ได้นำออกฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 (1932)

ซึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี ถือว่าเป็นปีที่สำคัญและยิ่งใหญ่มากของปวงชนชาวไทย ทำให้ประชาชนชาวไทยจากทุกจังหวัดทุกอำเภอหรือแม้แต่คนไทยที่อยู่ต่างประเทศ ก็พร้อมใจกันเดินทางเข้ามาในเมืองหลวงของไทยมากกว่าที่เคย เพื่อร่วมเฉลิมฉลองงานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์นี้

ทำให้ภาพยนตร์เสียงเรื่องแรกนี้ จึงได้รับความนิยม ดังเปรี้ยงและและ ประสบความสำเร็จ แบบฉุดไม่อยู่ กันเลยทีเดียว ช่วงนี้ถือเป็นช่วงที่ภาพยนตร์เสียง ได้รับความนิยมมากขึ้น ด้วยความที่ภาพยนตร์เสียงดูแล้วเข้าใจได้ง่ายกว่า ภาพยนตร์เงียบ และมีเสียงต่าง ๆ ที่สามารถสร้างอารมณ์ให้ผู้คนอินและคล้อยตามไปกับหนังได้ง่ายกว่า

วิวัฒนาการภาพยนตร์ จึงทำให้ภาพยนตร์เงียบค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไปและเริ่มหายไปจากวงการจอฟิล์ม ในช่วงนี้ถือเป็นยุคทองของวงการภาพยนตร์เลยก็ว่าได้ เพราะได้เกิดนักพากย์ชื่อดังอย่าง ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) ซึ่งทำหน้าที่ในการพากย์ภาพยนตร์ที่นำเข้าจากต่างประเทศให้เป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไทยสามารถดูเข้าใจได้ง่ายขึ้น

อีกทั้งเกิดดารานักแสดงคู่แรกของไทย นั่นก็คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ ที่เป็นนักแสดงที่มีความสามารถในการแสดงออกทั้งท่าทาง อารมณ์ และเสียงอีกด้วย อีกทั้งยังเกิดบริษัท สร้างภาพยนตร์ขึ้นมากมาย ตั้งแต่รายเล็ก ไปจนถึงรายใหญ่ ทำให้เกิดการพัฒนาภาพยนตร์ดี ๆ ออกมาให้ผู้คนได้รับชมอย่างมากมาย

จนภาพยนตร์ ถือเป็นสิ่งบันเทิงใจ ให้ผู้คนทั่วโลก อยู่กับเรามาตั้งแต่เด็กจนโต ซึ่งในปัจจุบันภาพยนตร์ ที่การฉายอยู่ 4 ช่องทางหลัก ๆ คือ ฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์กลางแปลง และภาพยนตร์เร่ ถ่ายทอดลงแผ่น VCD, DVD และ Blu-ray Disc เผยแพร่ทางโทรทัศน์และอินเทอร์เน็ต