ประวัติภาพยนตร์ไทย ความเป็นมาของภาพยนตร์ไทย

ประวัติภาพยนตร์ไทย

ประวัติภาพยนตร์ไทย เรื่องราวต้นกำเนิดของแวดวงหนังไทยนั้น คงจะต้องย้อนกลับไปยังสมัยตอนต้นของการผลิตภาพยนตร์

ประวัติภาพยนตร์ไทย เริ่มแรกในปี พ.ศ. 2440 (ค.ศ. 1897) ได้มีภาพยนตร์ ที่เข้ามาฉายในไทย เป็นครั้งแรกนั่นก็คือ ภาพยนตร์ระดับโลก จากพี่น้องตระกูลลูมิแอร์ ชาวฝรั่งเศสนั่นเอง ซึ่งฉายภาพยนตร์โดย นักฉายภาพยนตร์เร่ ชื่อว่า เอส. จี. มาร์คอฟสกี ในวันที่ 10 มิถุนายน 2440

ชาวสยามได้เข้าชมภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ที่ฉายใน โรงละครหม่อมเจ้าอลังการ กรุงเทพ ชาวสยามจึงเรียกมหรสพนี้ว่า หนังฝรั่ง เป็นมหรสพฉายแสง เล่นเงาบนจอผ้าขาว คล้ายกับการแสดงหนังใหญ่ และหนังตะลุง ต่อมาไม่นาน คณะฉายหนังเร่ชาวญี่ปุ่น ก็ได้นำหนังเข้ามาฉาย เนื้อหาส่วนใหญ่ มักจะเป็นเหตุการณ์ การสู้รบ ระหว่างญี่ปุ่นกับรัสเซีย

ประวัติภาพยนตร์ไทย

ซึ่งก็ได้รับการตอบรับ จากชาวสยามไปได้มาก เมื่อเห็นว่าการฉายหนังครั้งแรก ได้ผลดี จึงกลับมาฉาย ในเมืองไทยอีกครั้ง และได้สร้าง โรงภาพยนตร์ชั่วคราวขึ้น จนในที่สุด ก็ได้ตั้งโรงฉายหนังฝรั่ง เป็นโรงฉายหนังถาวร ที่แรกของสยาม เปิดฉายหนังเป็นประจำทุกวัน ซึ่งตั้งอยู่ตรง บริเวณหลังวัดตึก ถนนเจริญกรุง กรุงเทพ ชาวสยามจึงได้ดูหนังฝรั่งกันทุกคืน

จึงค่อย ๆ เปลี่ยนมาเรียกมหรสพชนิดนี้ว่า หนังญี่ปุ่น แทนคำว่าหนังฝรั่ง เพราะในการฉายภาพยนตร์ที่นี่ มักจะเป็นหนังญี่ปุ่นทั้งสิ้น
เมื่อ พ.ศ. 2440 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรปเป็นครั้งแรก ซึ่งในครั้งนั้น ได้มีช่างภาพของบริษัทลูมิแอร์ ประเทศฝรั่งเศส

บันทึกภาพยนตร์ การเสด็จถึงกรุงเบิร์น ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ของพระเจ้ากรุงสยามไว้ 1 ม้วน ใช้เวลาประมาณ 1 นาที นับว่าเป็นการถ่ายภาพยนตร์ ม้วนแรกของโลก ที่บันทึกและถ่ายทำเกี่ยวกับคนไทย ปัจจุบันภาพยนตร์ชุดนี้ ก็ได้รับการอนุรักษ์เอาไว้โดย หอภาพยนตร์ และภาพยนตร์เรื่องนี้ ยังได้รับการขึ้นทะเบียน เป็นมรดกภาพยนตร์ ของชาติ ครั้งที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2554 อีกด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2465 ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้มีกลุ่มนักสร้างหนังชาวอเมริกันจากบริษัทยูนิเวอร์ซัล มาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยเป็นเรื่องแรก เรื่องนี้มีชื่อว่า นางสาวสุวรรณ โดยภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับความช่วยเหลือจากกรมมหรสพหลวงและกรมรถไฟหลวง

ในเรื่องเป็นนักแสดงไทยทั้งสิ้น จึงถูกจัดว่าเป็นภาพยนตร์เรื่องแรกของเมืองไทย กำกับการแสดงโดย นายเฮนรี่ แมคเรย์ ถ่ายภาพโดย นายเดล คลองสัน นำแสดงโดย ขุนรามภรตศาสตร์ (พระเอก) นางสาวเสงี่ยม นาวีเสถียร (นางเอก) และหลวงภรตกรรมโกศล (คนร้าย) ซึ่งถือได้ว่าทั้งสามได้เล่นหนังในบทพระเอก นางเอกและผู้ร้ายเป็นคนแรกของเมืองไทยด้วยเช่นกัน

ในวันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2466 ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ ได้ออกฉายในกรุงสยามเป็นครั้งแรกท่ามกลางความตื่นเต้นของประชาชนชาวไทยจำนวนมาก ในปี พ.ศ. 2470 ได้เกิดภาพยนตร์เงียบ 2 เรื่องที่ได้รับความนิยมจากประชาชนชาวไทยเป็นจำนวนมากแบบเป็นประวัติการณ์เลยก็ว่าได้ นั่นก็คือภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น และเรื่อง ไม่คิดเลย

ซึ่งภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น ถูกสร้างขึ้นก่อนและได้รับกระแสตอบรับจากผู้คนอย่างท่วมท้นแบบไม่เคยมีมาก่อน เป็นภาพยนตร์สุดดังในสมัยนั้นเลยก็ว่าได้ ภาพยนตร์เรื่อง โชคสองชั้น ถูกสร้างโดยบริษัทกรุงเทพภาพยนตร์ ซึ่งเป็นเรื่องแรกของบริษัทนี้ เนื้อเรื่องถูกแต่งโดย หลวงบุณยมานพพานิช (อรุณ บุณยมานพ) กำกับการแสดงโดย หลวงอนุรักษ์รถการ (เปล่ง สุขวิริยะ)

ถ่ายภาพโดย หลวงกลการเจนจิต ผู้แสดงเป็นพระเอกคือ มานพ ประภารักษ์ ซึ่งคัดมาจากผู้สมัคร ทางหน้าหนังสือพิมพ์ ม.ล. สุดจิตร์ อิศรางกูร ซึ่งเป็นนางเอกละครร้อง และละครรำ ที่มีชื่อเสียงอยู่ในขณะนั้น ผู้ที่แสดงเป็นตัวร้ายคือ หลวงภรตกรรมโกศล คนเดียวกับที่แสดงเป็นตัวร้าย ในภาพยนตร์เรื่อง นางสาวสุวรรณ

ประวัติภาพยนตร์ไทย เรื่องโชคสองชั้น ได้ออกฉายเป็นครั้งแรก ที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2470 ต่อมาไม่นานแค่เดือนเศษ ๆ บริษัทถ่ายภาพยนตร์ไทย ก็ได้สร้างภาพยนตร์ออกมาเช่นเดียวกัน ชื่อเรื่อง ไม่คิดเลย ซึ่งก็ได้ออกฉายในเดือนกันยายน ปีเดียวกัน และได้รับกระแสตอบรับ ที่ดีเช่นเดียวกัน

ประวัติภาพยนตร์ไทย

จากนั้นมาทั้งสองบริษัทจึงสร้างภาพยนตร์ใหม่ ๆ ออกมาเรื่อย ๆ และมีบริษัทสร้างภาพยนตร์เกิดใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ เช่นกัน

ประวัติภาพยนตร์ไทย ในปี พ.ศ. 2470 ภาพยนตร์เสียงที่เรียกว่า ภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม (Sound on Film) หรือ ภาพยนตร์พูดได้ (Talkie) ของฮอลลีวู้ด ก็เริ่มเข้ามาในไทย ต่อมาให้หลังในปี พ.ศ. 2471 ก็เริ่มมีผู้นำอุปกรณ์ และภาพยนตร์เสียงในฟิล์ม เข้ามาฉายในกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2474 ก็ได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ที่ถูกสร้างโดยพี่น้องวสุวัต

ซึ่งเป็นการถ่ายทำภาพยนตร์ข่าว พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จนิวัต พระนคร เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2474 ต่อมาภาพยนตร์เรื่องนี้ ก็ได้นำออกฉาย สู่สาธารณะที่โรงภาพยนตร์พัฒนากร ในวันที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2474 และได้รับความชื่นชมเป็นอย่างมาก

ต่อมาพี่น้องวสุวัต ก็ได้ทำกิจการสร้างภาพยนตร์ เป็นของตนเอง ชื่อว่า บริษัทภาพยนตร์เสียงศรีกรุง ปีต่อมาได้เกิดภาพยนตร์เสียงเรื่องแรก ชื่อว่า หลงทาง ซึ่งก็ได้นำออกฉายในช่วงวันขึ้นปีใหม่ไทย เดือนเมษายน พ.ศ. 2475 ซึ่งปี พ.ศ. 2475 ถูกจัดว่าเป็นปีที่พิเศษกว่าทุกปี เพราะเป็นปีที่รัฐบาลจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 150 ปี

ทำให้ประชาชนจากทั่วทุกสารทิศ เดินทางเข้ามาในเมืองหลวงมากกว่าปกติ ส่งผลให้ภาพยนตร์เสียงเรื่อง หลงทาง จึงได้รับความนิยม และประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงที่ภาพยนตร์ ได้รับความนิยมมากขึ้น และไปแทนที่ภาพยนตร์เงียบ ที่ค่อย ๆ เสื่อมความนิยมลงไป และมีการนำเข้าภาพยนตร์จากต่างประเทศ

แต่ก็มีหลายเรื่องที่ไม่มีบรรยายไทย จึงจำเป็นต้องพากย์เสียงบรรยายเป็นภาษาไทย เพื่อให้คนไทยเข้าใจ จึงเกิดนักพากย์ที่มีชื่อเสียงขึ้น คือ ทิดเขียว (สิน สีบุญเรือง) อีกทั้งยังเกิดดาราคู่แรกของวงการภาพยนตร์ไทย นั่นก็คือ จำรัส สุวคนธ์ และ มานี สุมนนัฎ อีกด้วย