หลังจบงาน เทศกาลภาพยนตร์ที่จัดขึ้น ได้จบลงแล้ว เกิดอะไรขึ้นบ้าง

หลังจบงาน

หลังจบงาน เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์ ครั้งที่ 74  ปิดฉากลงเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

หลังจบงาน นับเป็นงานภาพยนตร์ระดับนานาชาติขนาดใหญ่ของโลกครั้งแรกที่จัดขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการป้องกันการโรคระบาดโควิด-19ในยุโรป งานผ่านพ้นไปอย่างราบรื่น ถึงแม้ว่าตอนแรกจะมีความกังวลต่างๆนานา

ทั้งในด้านสาธารณสุขและการจัดการงานที่มีคนมารวมตัวกันนับหมื่น ความสำเร็จของคานส์เป็นสัญญาณบวก ที่บ่งชี้ว่าโลกภาพยนตร์กำลังจะกลับมาคึกคักเป็นปกติอีกครั้ง ผู้เขียนไม่ได้ไปร่วมงานในปีนี้ เนื่องจากความลำบาก ในการเดินทางอย่างที่เราทุกคนทราบกัน  ข่าว หนังใหม่ MarVel

แต่ขอประมวล 5 หัวข้อสำคัญจากเทศกาลเมืองคานส์ปีนี้มาร่วมพูดคุยกัน ทีเทน – หนังเพศสภาพลื่นไหลได้รางวัลใหญ่ปาล์มดอร์
ถือว่าเป็นหนังม้ามืดที่เอารางวัลใหญ่ของเทศกาลมาได้ ทีทาน (อ่านว่า “ที-ทาน” มีความหมายว่า ไททาเนียม)

เป็นหนังของผู้กำกับหญิง จูเลีย ดูคอนู ที่กลายเป็นผู้กำกับหญิงคนที่สองในประวัติศาสตร์ 70 กว่าปีของคานส์ ที่ได้รางวัลใหญ่ ทำให้ประเด็นที่คานส์ถูกค่อนขอดมาตลอดว่านิยมชมชอบแต่ผู้กำกับชาย ลดน้ำหนักลงไปได้โข

เป็นหนังที่นักวิจารณ์ต่างลงความเห็นว่า หลุดโลก ทั้งน่าหัวเราะในความเว่อร์วังแต่กลับแฝงด้วยมวลอารมณ์อ่อนไหว เนื้อเรื่องดูคลั่งจินตนาการไม่น้อย ว่าด้วยหญิงสาวที่ตอนเด็กประสบอุบัติเหตุและต้องดามเหล็กไว้ที่กะโหลก

หลังจบงาน

เมื่อเธอมีเหตุต้องหลบหนีคดี เธอปลอมตัวเป็นเด็กผู้ชาย (นั่นแหละครับ พล๊อทมาแบบนั้นจริง) ก่อนจะนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์กับรถยนตร์ (นั่นแหละครับ ตามนั้น) โดยปกติ หนังที่ท้าทายรสนิยมแล้วก็จริตเคร่งขรึมดีงามเช่นนั้น มักจะเป็นเพียงไม้ประดับ

การที่หนังได้รางวัลใหญ่ที่สุดของงาน ต้องนับว่าเป็นความกล้าหาญของคณะกรรมการที่นำโดยผู้กำกับอเมริกัน สไปค์ ลี และเป็นการตัดสินใจที่ทำให้ จูเลีย ดูคอนู (ที่เพิ่งทำหนังเป็นเรื่องที่สองเท่านั้น) แซงหน้าผู้กำกับฝรั่งเศสรุ่นใหญ่อีกหลายคนเข้าเส้นชัยสำคัญนี้ไปก่อน

เรื่องราวมากมายเกี่ยวกับผู้กำกับไทย อภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล และหนังนานาชาติของเขา เมโมเรีย คงเป็นข่าวที่ล้นเต็มฟีดของพวกเรามาตลอดสัปดาห์ที่แล้ว ถึงแม้นี่จะไม่ใช่ “หนังไทย” ในขนบดั้งเดิม – และอาจจะไม่จำเป็นที่จะต้องระบุว่าเป็นหนังสัญชาติใด

เป็นงานอันเรียบง่าย ลุ่มลึก และเชื่อมโยงกับสัญชาติญาณมนุษย์แบบสากล แฟนหนังชาวไทยลุ้นกันหนักมากว่าอภิชาติพงศ์ จะได้ปาล์มทองเป็นครั้งที่สองได้หรือไม่ สุดท้ายแล้วหนังได้รางวัล จูรี่ ไพรซ์ หรือคร่าวๆคือรางวัลที่ 3

แต่นั่นไม่ได้ทำให้คุณค่าของหนังเรื่องนี้ลดลงแต่อย่างใด ใน เมโมเรีย ดาราอังกฤษ ทิลดา สวินตัน แสดงเป็นผู้หญิงที่ถูกหลอกหลอนด้วยเสียงดังประหลาด รวมทั้งออกเดินทางเพื่อค้นหาต้นตอของมันไปทั่วประเทศโคลอมเบีย

หนังได้รับเสียงสรรเสริญล้นหลาม รวมทั้งได้รับการ สแตนดิ้ง โอวาชั่น 14 นาทีแสนยาวนาน อันนำไปสู่การที่อภิชาติพงศ์ กล่าววรรคทองของปีนี้ว่า ลอง ไลฟ์ ซีนิม่า – ภาพยนตร์จงเจริญ ตอนนี้ เมโมเรีย เป็นหนังที่คนไทยรอดูเยอะที่สุด

และเชื่อว่า ผู้สร้างจะเอามาฉายอย่างแน่นอน เมื่อโรงภาพยนต์เปิดทำการได้อีกครั้ง

หนังญี่ปุ่นเรื่อง ไดรฟ์ มาย คาร์ กำกับโดย ริวสุเกะ ฮามากูจิ สร้างจากเรื่องสั้นความยาว 40 หน้าชื่อเดียวกันโดยนักเขียนญี่ปุ่นแห่งยุค ฮารูกิ มูราคามิ ที่ยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพราะว่าผู้เขียนมีโอกาสได้ชมหนัง และมีความรู้สึกว่านี่เป็นหนังดีที่สุดเรื่องหนึ่งของปี

ในเรื่องราวของนักเขียนบทละครที่เผชิญปัญหาชีวิตกับภรรยา และเดินทางไปร่วมฝึกซ้อมละครต่างเมือง ก่อนจะได้เจอกับตัวละครหลากหลายที่ทำให้เขาสะท้อนภาพชีวิตและความรู้สึกอันคั่งข้างของตัวเอง นี่น่าจะเป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากเรื่องของมูราคามิที่ดีที่สุด

(ดีกว่า เบิร์นนิ่ง เสียอีก) หนังได้รางวัลบทยอดเยี่ยมจากเทศกาลเมืองคานส์ ทั้งๆที่ทีแรกๆ ว่ากันว่าหนังมีลุ้ยถึงรางวัลใหญ่ปาล์มดอร์ เช่นกัน หวังว่าจะมีผู้แทนจำหน่ายไทย นำหนังเข้ามาฉายในบ้านเราต่อไป

ตลาดยุโรปฟื้น เอเชียยังรีรอ นอกจากหนังประกวด คานส์ยังเป็นตลาดซื้อขายหนังที่สำคัญของโลก เนื่องด้วยสถานการณ์โควิด ตลาดหนังคานส์ปีนี้จึงเงียบเหงากว่าปกติ โดยเฉพาะการที่บริษัทหนังจากฝั่งเอเชีย ยังไม่พร้อมเดินทางไปร่วมงานเต็มที่

และต้องใช้วิธีซูม เข้าไปประชุมหรือตกลงทำสัญญาซื้อขาย ซึ่งแน่นอนว่าไม่ได้มีประสิทธิภาพเหมือนเจอหน้ากันจริง แต่ถึงกระนั้น นักธุรกิจฝั่งยุโรปดูจะคึกคัก และตลาดเริ่มฟื้นตัวมากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ช่วงนี้โรงภาพยนต์ฝั่งยุโรป เริ่มกลับสู่ภาวะปกติมากขึ้นเรื่อยๆ

หลังจบงาน

ไม่มีคลัสเตอร์ คานส์ นี่อาจจะเป็นประเด็นที่สำคัญที่สุด ก่อนหน้าเทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์จะเริ่มขึ้นในต้นเดือนกรกฎาคม หลายคนจับจ้องและไม่เชื่อว่า งานใหญ่ขนาดนี้ มีผู้เข้าร่วมถึงกว่าสองหมื่นคน และมีการจัดฉายหนังกันไม่หยุดหย่อนตลอด 12 วัน

จะผ่านพ้นไปได้โดยไม่กลายเป็นซุปเปอร์สเปรดเดอร์ อีเวนท์ หรืองานที่แพร่กระจายเชื้อโรค แต่ปรากฏว่า คานส์ทำได้สำเร็จ ไม่มี คานส์ คลัสเตอร์ ไม่มีการติดโควิดกันยกโรง ไม่มีข่าวอื้อฉาวทางสาธารณสุข ถึงภาพจากพรมแดงที่เราเห็นกันตลอดเกือบสองสัปดาห์

จะแทบไม่มีดารา หรือคนดัง ใส่หน้ากาก แต่จริงๆแล้วคานส์ออกกฎบังคับให้ผู้ชมทุกคนรวมทั้งสื่อมวลชน ต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ภายในโรงหนัง นอกจากนี้ ทุกคนยังต้องรายงานตัวเพื่อตรวจโควิดทุก 48 ชั่วโมง

ไม่อย่างนั้นจะไม่สามารถเข้าร่วมงานได้ ถึงแม้จะมีคนติดโควิดบ้าง แต่ไม่ใช่ในจำนวนที่น่าตกใจ และไม่มีการแพร่เชื้อขนานใหญ่ ความสำเร็จครั้งนี้ ลั่นกระดิ่งให้โลกมีความคิดเห็นว่า ภาพยนตร์ และการฉายภาพยนตร์ในโรง

กำลังจะกลับมาทวงพื้นที่ที่สูญเสียไปให้กับบริการสตรีมมิ่งตลอดหนึ่งปีกว่าที่ผ่านมา ปัญหาถัดไปคือ แล้วคนดูหนังในประเทศไทยล่ะ เมื่อไหร่จะสามารถกลับไปนั่งดูหนังในโรงกันโดยไม่ต้องหวาดระแวง

เห็นงานที่คานส์สนุกสนานอย่างนั้นแล้วสะท้อนใจว่า การบริหารงานสาธารณสุขที่ดีเท่านั้น ถึงจะทำให้วงการศิลปะ-วัฒนธรรม-บันเทิง มีเสถียรภาพและแข่งกันคนอื่นในโลกได้ เรารอนานกว่านี้ไม่ได้ เพราะโลกทั้งใบ พร้อมจะเดินไปข้างหน้าอีกครั้งแล้ว