เล่าเรื่องหนัง และเผยรายละเอียดต่างๆของภาพยนตร์ 5 เรื่อง
เล่าเรื่องหนัง ในปีที่จอหนังส่วนใหญ่ในโลกยังดับมืด ภาพยนตร์สตรีมมิ่งกลายเป็นสนามของผู้กำกับมือดี
เล่าเรื่องหนัง เราอาจจะดู เน็ตฟลิก กันเป็นสรณะ แต่หนึ่งในหนังดีของปีที่แล้วรวมทั้งต่อเนื่องถึงเวทีออสการ์ปีนี้ คือหนังชุดที่เรียก รวมๆว่า สมอล แอ็กซ์ ของผู้กำกับอังกฤษ สตีฟ แมคควีน (ที่เรารู้จักกันจาก ทเวล เยียร์ อะ สลาฟ และ เชม)
ออกฉายเมื่อปลายปีที่แล้วทาง บีบีซี และลงสตรีมใน อเมซอน สมอล แอ็กซ์ เป็นชุดภาพยนตร์ที่ประกอบด้วย 5 เรื่อง ได้แก่ แมง โกรฟ, เลิฟเวอร์ ร็อค, เรด ไวท์ แอนด์ บลู อเล็กซ์ วีทเทิล และ อีดูเคชั่น แต่ละตอนอยู่ภายใต้ธีมเดียวกันแต่ไม่ได้ต่อเนื่องกัน
(ดังนั้นจะดูแยกก็ได้ ความยาวมีตั้งแต่ชั่วโมงนิดๆถึงสองชั่วโมง) ทั้ง 5 ว่าด้วยความทุกข์ ความสุข รวมทั้งความหวังของคน อังกฤษผิวสีเชื้อสายจาไมก้า ที่ใช้ชีวิตอยู่ในลอนดอนในช่วงทศวรรษที่ 1970-1990 ข่าว หนังใหม่ MarVel
นักฟังเพลงคงคุ้นชื่อซีรีส์นี้ว่าเป็นเพลงดังของ บ๊อบ มาร์เลย์ ศิลปินเรกเก้ชาวจาไมก้าที่โด่งดังมากในอังกฤษ เนื้อเพลงพูดถึงการ ต่อสู้ของผู้ที่ถูกกดขี่ เปรียบเปรยว่าเจ้าอาณานิคมเป็น “ต้นไม้ใหญ่” และผู้เรียกร้องอิสรภาพคือ “ขวานด้ามเล็ก”
หนังอย่างน้อย 2 จาก 5 หนังนี้มีสิทธิ์ลุ้นไปถึงออสการ์ ว่ากันว่าถ้า เทศกาลหนังเมืองคานส์ปีที่แล้วไม่โดนยกเลิกเพราะโควิด
หนังสองอันจากเซ็ตนี้ คือ แมงโกรฟ และ เลิฟเวอร์ ร็อค น่าจะอยู่สาย ประกวดและเป็นหนังดังแห่งปี (อันนี้เห็นด้วย)
ถ้าจะเสาะหามาดูกัน ขอแนะนำสองอันนี้ก่อน ส่วนอีกสามอันในชุด ค่อยๆตามดูทีหลังได้ ถึงจะว่าด้วยเนื้อหาของชาวอังกฤษเชื้อสายจาไมก้า ทั้งสอง
แม้กระนั้น แมงโกรฟ กับ เลิฟเวอร์ ร็อค ช่างแตกต่างในโทนและอารมณ์ แมงโกรฟ เป็นหนังแห่งความคับแค้น เกรี้ยวกราด ถ่มถุย ความอยุติธรรมและการเหยียดสีผิว หนังสร้างจากความจริงของร้านอาหารจาไมก้าชื่อ แมงโกรฟ
ในย่านคนอพยพของลอนดอนในช่วงทศวรรษ 1970 ที่เปลี่ยนเป็นศูนย์รวมของนักเรียกร้องความเท่าเทียม และมักเป็นเป้าให้ตำรวจเร ซิสท์บุกค้น ทำลายข้าวของ และจับตัวเจ้าของและลูกค้าตามอำเภอใจ
นำไปสู่การพิจารณาคดีครั้งสำคัญของแอคติวิสท์ผิวสี 9 คนข้อหาก่อจลาจล เป็นหนังของความโกรธ และเป็นความโกรธที่เราเคย พบเห็นมาแล้วในหนัง ที่ว่าด้วยชนหมู่น้อยที่โดนทำร้ายซ้ำแล้วซ้ำอีก ไม่ใช่เพียงแค่จากตำรวจเหยียดผิวสาม-สี่คน
แต่โดยระบบเจ้าอาณานิคมที่ยังไม่เสื่อมอำนาจแม้จะผ่านเข้าสู่ยุคหลังอาณานิคมแล้ว โดดเด่นด้วยรายละเอียดทางวัฒนธรรมและ การต่อสู้ทางอุดมการณ์ ที่ไม่ใช่เพียงแค่ระหว่างคนผิวสีกับคนขาว แต่ระหว่างนักเรียกร้องด้วยกันเอง
ที่ส่วนหนึ่งเพียงแค่ต้องการใช้ชีวิตปกติและ “ยอม” เป็นส่วนหนึ่งของระบบที่รู้ทั้งรู้ว่าไม่ยุติธรรม หรือจะลุกขึ้นก่อตั้งเดินขบวน ยอม ถูกจับ เดิมพันกับประวัติศาสตร์ และเดินแถวขึ้นศาลเพื่อแสดงจุดยืนของตัวเอง
จุดเด่นอีกประการของหนังชุด สมอล แอ็กซ์ คือเพลงประกอบ และในบรรดาหนัง 5 ตอนนี้
ตอนที่เพลงและดนตรีเป็นเคมีหลักในการสร้างหนังและบรรยากาศคือตอน เลิฟเวอร์ ร็อค สำหรับผู้เขียน นี่คือหนังที่ดีที่สุดเรื่องหนึ่ง ของปีที่แล้วและดูซ้ำได้หลายรอบแน่ๆ ชื่อหนังมาจากตระกูลเพลงเรกเก้สายอ่อนหวาน (คือไม่ใช่เรกเก้โป้งชึ่ง)
เป็นเพลงสำหรับคู่รักหนุ่มสาวไว้เต้นรำและจีบกันตามงานปาร์ตี้ หนังยาวแค่ชั่วโมงกว่าๆไม่มีพล๊อท ไม่มีเนื้อความจริงจัง เรา เพียงแค่ตามสองสาวผิวสีในค่ำคืนที่เธอไปร่วมงานเต้นรำที่จัดในบ้าน ปาร์ตี้แบบนี้เป็นสิ่งปกติของคนจาไมก้า
ในอังกฤษในยุค 1980 ที่ถูกกีดกันไม่ให้ไปบาร์หรืองานเลี้ยงของคนขาว – ทั้ง สองสาวฟังเพลง เต้นรำ มีหนุ่มมาจีบ โกรธกัน ดีกัน ฯลฯ
ทั้งหมดเกิดขึ้นในบรรยากาศอบอวลด้วยแรงปรารถนา คลอเคลียด้วยเสียงเพลง และดีเจที่คอยกระตุ้นเร้าเสน่หาของคู่เต้นบนฟลอร์ “หนังคนดำ”
นี่เรียกกันอย่างตรงไปตรงมาถึงจะไม่ถูกหลัก พีซี– มักจะโดดเด่นเมื่อแสดงความ เจ็บปวด หรือมีภาพการต่อสู้ (หนังในชุดนี้เองก็เป็นแบบนั้น)
แต่ว่า เลิฟเวอร์ ร็อค กลับตรงกันข้าม นี่เป็นหนังของความรื่นรมย์ ความรักที่กำลังก่อตัว ความอีโรติคของการเยื้องย่าง มือที่กวัด แกว่งตามร่างกาย ปากที่กระซิบคำรัก นี่แทบจะเป็นหนังแบบหว่องกาไวที่เน้นความลื่นไหลของบรรยากาศมากกว่าเนื้อหาของหนัง
แต่ยังคงความแหลมคมในรายละเอียด และบริบทของการที่ตัวละครเป็นชนกลุ่มน้อย “การต่อสู้เรียกร้อง” ยังคงเกิดขึ้น แต่เกิดขึ้นใน อีกรูปแบบ รูปแบบของอิสรภาพในการมีความสุขไม่ว่ามันจะสั้นแค่ไหน หนังนี้เปล่งปลั่งด้วยอารมณ์ละเมียดละไม
โดยไม่หลงลืมว่าผู้คนในหนังยังอาศัยอยู่ในโลกของความเป็นจริงที่ไม่ได้สวยงามเสมอไป และอย่างที่ว่า ซาวด์แทร็คของหนังนี้มี เพลงดีๆที่เราอาจจะไม่เคยได้ยินแต่รับรองว่าฟังแล้วเคลิ้ม เพลงเรกเก้มีความหลากหลายมากกว่าบ๊อบ มาร์เลย์
เลิฟเวอร์ ร็อค และ แมงโกรฟ ไม่ได้เพียงเล่าแค่คนจาไมก้าในลอนดอนผ่านภาพ แต่ผ่านเสียงเพลงแห่งความสุขและความทุกข์ ของพวกเขาได้อย่างเต็มโสตประสาท รอดูกันว่าหนังจะไปได้ไกลถึงออสการ์อย่างที่เชียร์ลีดเดอร์ลุ้นหรือเปล่า