ตำนานหนังไทย กับภาพยนตร์ไทยที่เคยฉายเมื่อสมัย 20 ปีที่แล้ว

ตำนานหนังไทย

ตำนานหนังไทย เดือนพฤษภาคมปี ค.ศ. 2001 หรือ 20 ปีที่แล้วพอดิบพอดี (ชื่อภาษาอังกฤษว่า เทียร์ ออฟ เดอะ แบล็ค ไทเกอร์ )

ตำนานหนังไทย สร้างประวัติศาสตร์เป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่ได้รับเชิญไปฉายที่เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์อย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ไทยอันสุดประหลาด ทั้งสีสัน ลีลา การเล่าเรื่อง ผสมผสานการโหยหาอดีตกับความทรงจำหนังไทยโบราณ

และเทคนิคสมัยใหม่ เป็นหนังที่เปิดขอบฟ้าใหม่ให้การเดินทางของภาพยนตร์ไทยและทำให้ “ภาพยนตร์ไทย” ขยายที่ทางไปในการรับรู้ของคนดูและนักวิจารณ์หนังทั่วโลก ฟ้าทะลายโจร กำกับและเขียนบทโดย วิศิษฎ์ ศาสนเที่ยง

หนึ่งในคนทำโฆษณาที่มาทำหนังใหญ่ในช่วงปลายทศวรรษที่ 1990 ถ้าใครยังไม่เคยดู ตอนนี้สามารถดูได้ที่ ทรู ไอดี ส่วนใครเคยดูแล้ว คงยากที่จะลืมเอกลักษณ์ความจัดจ้านและความแปลกประหลาดของหนังได้

เล่าง่ายๆนี่คือหนังคาวบอยไทในตำรา “รักซ้อน ซ่อนเงื่อน เพื่อนทรยศ” ว่าด้วย เสือดำ (ชาติชาย งามสรรพ์) มือปืนในรังโจรที่นำโดย เสือฝ้าย (สมบัติ เมทะนี) คู่หูปืนไวของเสือดำคือ เสือมเหศวร (ศุภกร กิจสุวรรณ)  ข่าว หนังใหม่ MarVel

หลังจากขี้ม้าปล้นสะดมและต่อกรกับนายตำรวจ เสือดำยังต้องฝ่าฟันอุปสรรคความรักกับ รำเพย (สเตลล่า มาลุคกี้) หญิงสาวสวยสูงศักดิ์ที่เคยเป็นเพื่อนกันมาเด็ก แต่ชะตากรรมและเส้นทางชีวิตต้องทำให้ทั้งสองพลดพราก

ตำนานหนังไทย

ก่อนที่หนังจะออกฉายในไทย (ฉายก่อนหน้าจะไปเทศกาลเมืองคานส์) หนังเรียกความระทึกใจได้พอสมควร เนื่องจากวิศิษฎ์

ตั้งใจใช้ไวยากรณ์ภาพยนตร์ไทยโบราณโดยปรุงแต่งให้เข้มข้นกว่าเดิม ทั้งการแสดงที่แสนทื่อ (โดยตั้งใจ) ฉากที่สวยแต่ดูปลอม (โดยตั้งใจ)

บทสนทนาเชยๆ(โดยตั้งใจ) การย้อมสีหนังให้สดจนไม่เป็นธรรมชาติ จังหวะการสร้างอารมณ์ที่เหมือนละครน้ำเน่า

รวมทั้งการที่หนังเป็นทั้งยังการไหว้ครูภาพยนตร์ไทยโบราณและเป็นการล้อเล่นกับหนังเหล่านั้นไปพร้อมๆกัน

แน่นอนว่าโดยตั้งใจอีกเช่นกัน แต่ปรากฏว่าเมื่อหนังออกฉาย กลับไม่ทำเงินมากนัก ทั้งๆที่ตอนนั้น เป็นยุคที่ภาพยนตร์ไทยกลับมาเรียกความมั่นใจจากคนดู

และมีหนังดังๆต่อเนื่องกันมากหลายเรื่อง ตั้งแต่ 2499 อันธพาลครองเมือง และ นางนาก ทั้งสองเรื่องเขียนบทโดยวิศิษฎ์และดูแลโดยนนทรี นิมิบุตร

ที่น่าสนใจคือเมื่อหนังไปฉายที่เทศกาลเมืองคานส์ นักวิจารณ์และนักข่าวตะลึงกับหนังมาก และต่างสรรหาคำบรรยายหนังอันเรื่องนี้ด้วยคำพูดและอรรถาธิบายหลากหลาย

ประมาณว่าฝรั่งตื่นเต้นที่เห็นของแปลกและสนุกสนานจากเอเชีย บ้างว่านี่เป็น “หนังคาวบอยที่เหมือนเหล้าแม่โขงผสมสปาเก๊ตตี้” (อ้างถึง สปาเก็ตตี้ วิสเทิร์น หรือหนังคาวบอยอิตาเลียน) หรือเป็นหนัง “โพสท์โมเดิร์น”

(ช่วงนั้นคำว่า “โพสท์โมเดิร์น” กำลังเป็นคำยอดฮิตในวงการศิลปะ) บ้างก็เปรียบเทียบว่า ภาพยนตร์ไทยเรื่องนี้ได้รับอิทธิพลจากหนังเทคนิคคัลเลอร์อย่าง กอน วิช เดอะ ไวน์ด หรือหนังคาวบอยของจอห์น ฟอร์ด ช่วงนั้นผู้เขียนตามอ่านรีวิวจากฝรั่งเยอะมาก

(เสียดายที่ไม่ได้ตัดเก็บไว้) และเป็นที่สังเกตว่า ฝรั่งชอบสไตล์ของหนังโดยที่อาจจะไม่คุ้นเคยกับภาพยนตร์ไทยเรื่องอื่นๆและไม่ทราบ (หรือทราบผิวเผิน) ว่า ฟ้าละทายโจร เป็นการประกอบสร้างภาพยนตร์ร่วมสมัยจากประวัติศาสตร์

และความทรงจำหนังบู๊ไทยสมัยเก่า ประมาณช่วงปี 2500 กว่าๆเป็นต้นมา ถ้าจะมีศัพท์เทคนิคภาษาอังกฤษที่เหมาะเจาะที่สุดในการอธิบาย ฟ้าทะลายโจร น่าจะเป็นคำว่า พาสติสเช่ แปลว่า การสร้างงานศิลปะที่ตั้งใจเลียนแบบงานอื่นๆที่มาก่อนหน้า

ไม่ได้เลียนแบบในความหมายว่า “ขโมย” และไม่ได้เลียนแบบเพื่อล้อเลียนเยาะเย้ย

แต่เป็นการตั้งใจเฉลิมฉลองของเก่าที่มีค่าโดยนำมาทำใหม่โดยคงเอกลักษณ์ของเดิมให้คนดูจำได้ คำๆนี้ บางครั้งมีความหายเป็นลบ ว่าเป็นเพียงการ “ยำใหญ่”  เอาของเดิมมาปรับโฉมจนกระทั่งด้อยค่าลง แต่ในกรณี ฟ้าทะลายโจร

การเดินไต่เส้นระหว่างการไหว้ครูหนังเก่า และความพยายามในการแสวงหาภาษาหนังใหม่ (โดยอ้างอิงจากของเก่า) กลับให้ผลลัพธ์อันน่าตื่นเต้น เป็นประสบการณ์ทางสายตาและอารมณ์ที่ล้ำสมัยของคนดู

แต่ก็เป็นไปได้ว่า คนดูไทยมอง ฟ้าทะลายโจร แบบตรงตัว – ว่านี่คือหนังบู๊ขี่ม้ายิงกันผสมเรื่องรักรันทด ที่สร้างให้ดูคล้ายหนังเก่า แถมยังเป็นหนังที่เล่าเรื่องสลับไปมาให้ดูยากเสียอีก – จนทำให้หนังไม่เป็นที่นิยมในตลาด

ในขณะที่คนดูและนักวิจารณ์ตะวันตก (หรือต่างชาติอื่นๆ) กลับดูหนังเรื่องไม่ใช่เพราะด้วยเนื้อเรื่อง แต่ด้วยสีสันและความแปลกใหม่ ด้วยสายตาที่พยายามเข้าใจศิลปะที่พวกเขาไม่คุ้นเคย ประกอบกับที่ช่วงเวลาดังกล่าว หนังเอเชียเริ่มมีที่ทางในเทศกาลหนังตะวันตก

ตำนานหนังไทย

และในตลาดขายหนังฝั่งยุโรปและอเมริกามากขึ้น จึงปรากฏตัวที่เมืองคานส์เมื่อ 20 ปีที่แล้วด้วยรัศมีเรืองรองของงานศิลปะจากโลกลำดับที่สาม

ที่ท้าทายขนบและการรับรู้เดิมๆผู้เขียนเชื่อว่า นักวิจารณ์หนังชาติตะวันตกจำนวนมากที่เริ่มต้นอาชีพในสมัยปลาย 1990

ต่อเนื่องถึงสหัสวรรษ 2000 เริ่มต้นรู้จักภาพยนตร์ไทยจาก ฟ้าทะลายโจร แทบทั้งนั้น หนังดังที่เมืองคานส์จนกระทั่งขั้นที่บริษัทมิราแม็กซ์

โดยฮาร์วี่ ไวน์สตีน (ที่ต่อมากลายเป็นผู้ต้องหาลวนลามทางเพศอันอื้อฉาว) ตัดสินใจซื้อหนังไปฉายในอเมริกา เป็นข่าวที่โด่งดังมากๆในตอนนั้นเพราะแทบไม่เคยมีบริษัทอเมริกันซื้อภาพยนตร์ไทยไปฉายมาก่อน แต่ความสำเร็จของเรื่องนี้

กลับตกเป็นเหยื่อของการปะทะกันของการตลาด ศิลปะ วิสัยทัศน์ และช่องว่างของวัฒนธรรม บริษัทมิราแม็กซ์เอาหนังไปตัดต่อใหม่จนเรียกได้ว่า “เหลว” และก็นำไปฉายที่เทศกาลซันแดนซ์ ทั้งๆที่วิศิษฎ์เองก็ไม่พอใจการที่นายทุนมาทำให้หนังของเขาทุพพลภาพ

ตัดแขนตัดขาจนเสียรูปร่าง หนังในเวอร์ชั่นนั้นกลายเป็นความล้มเหลวในตำนาน และแทบไม่เคยมีใครได้ดูเลยนอกจากที่เทศกาลในปีนั้น ถูกสร้างขึ้นในช่วงเวลาที่ภาพยนตร์ไทยมีความหลากหลาย เป็นยุคที่ผู้กำกับรุ่นใหม่มีอิสระในการทดลองและแสวงหาเส้นทางของตัวเอง

โดยไม่ต้องคำนึงถึงเงื่อนไขทางการตลาดมากเกินไป อีกทั้งนายทุนยังเปิดกว้างและพร้อมจะทดลองแนวทางใหม่ๆไปพร้อมๆกับศิลปิน น่าเสียดายที่ 20 ปีผ่านไป บรรยากาศแบบนั้นกลับแทบไม่เหลืออยู่แล้ว การนั่งมองหนังในตอนนี้ ทำให้หวนนึกถึงวันเก่าๆที่ไม่ใช่แค่ความเก่าโบราณที่หนังนำเสนอ แต่วันเก่าๆที่ภาพยนตร์ไทยยังมีช่องว่างให้หายใจและทำให้ผู้ชมอยากร่วมเดินทางผจญภัยไปในโลกภาพยนตร์ด้วยกัน